สวัสดีครับ ผมห่างหายจากการเขียน Blog ไปนาน วันนี้ว่าง ๆ ประกอบกับได้ไปลองเล่นบอร์ด CAT LoRa Starter Kit ซึ่งตัวบอร์ดก็ทำออกขายมานานแล้ว แต่ผมรู้สึกว่ามันเป็นมิตรกับนักพัฒนามากเลยเมื่อเทียบกับบอร์ดเดิมที่ผมใช้คือ STM32 LORA DISCOVERY KIT ( B-L072Z-LRWAN1) เพราะสามารถใช้ Arduino IDE เป็น Tools ในการเขียนโปรแกรมได้ ซึ่งในจุดนี้ทำให้การพัฒนาบนบอร์ดนี้จะเหมือนกับการเขียนโปรแกรมบนบอร์ด Arduino, ESP8266 และ ESP32 ได้เลย ซึ่งบอร์ดพวกนี้จะหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ง่ายมากผ่าน Google ได้เลย แต่ที่ผมขัดใจนิด ๆ คือ มันไม่มี WiFi หรือ Bluetooth ใส่มาให้ด้วยเลย ถ้ามีนะ จะสุดยอดมาก ครบจบในตัวเดียว 555+
ข้อมูลสเปคของบอร์ด LoRa Starter Kit
• ไมโครคอนโทรลเลอร์ : ATSAMD21G18
• หน่วยความจา : FLASH 256 KB + SRAM 32 KB
• แรงดันไฟเลี้ยง : 3V
• อินพุต/เอาต์พุท : 9 ขา
• อะนาล็อกอินพุต : 6 ขา
• Peripheral อื่น : Serial, SPI และ I2C
• ชิป Communication : AcSIP S76S
• เซ็นเซอร์บนบอร์ด : HTS221
• ขนาด : 25.4 X 76.2 มิลลิเมตร
โดยตัว CAT LoRa Starter Kit จะมีเซ็นเซอวัดอุณหภูมิและความชื้น (HTS221) มาให้ในตัวบอร์ดเลย และมีชิป AcSIP S76S ใช้ในการทำ LoRaWAN ซึ่งรองรับความถี่ที่ 868 MHz หรือ 915 MHz ครับ
การติดตั้ง Borad library บน Arduino IDE
1.ไปที่ File → Preferences ใส่ข้อมูลตามภาพ
https://adafruit.github.io/arduino-board-index/package_adafruit_index.json
2.ไปที่ Tool → Board → Boards Manager เพื่อทำการติดตั้ง Board
ติดตั้ง 2 ตัว ดังภาพ
เพียงเท่านี้ Arduino IDE ของเราก็พร้อมใช้งาน LoRa Starter Kit GRAVITECH ต่อมาเราจะมาทดลอง Run โปรแกรมทดสอบขึ้นไปดูกันนะครับ
ให้เขียนโค๊ดทดสอบดังนี้
void setup() {
pinMode(13, OUTPUT);
Serial.begin(115200);
delay(1000);
Serial.println(“LoRa Starter Kit GRAVITECH”);
}void loop() {
digitalWrite(13, HIGH);
Serial.println(“Turn-On light.”);
delay(1000);
digitalWrite(13, LOW);
Serial.println(“Turn-OFF light.”);
delay(1000);
}
ก่อนทำการรันเทส เราต้องตั้งค่า Board ให้ตรงกันก่อนโดยไปที่
Tools → Board → Adafruit Feather M0
แล้วทำการรันทดสอบได้เลย ถ้าการติดตั้งสมบูรณ์และไม่มีข้อผิดพลาดจะขึ้นแสดงดังรูป โดยที่ไฟสีแดงบนตัว Board จะกระพริบทุก ๆ 1 นาที ดังรูป
จะสังเกตุเห็นว่า Code ที่ใช้เป็นภาษา C/C++ และมีรูปแบบการเขียนในสไตล์เดียวกันกับการพัฒนาบนบอร์ด ESP8266 และ ESP32 เลย ซึ่งมันดูเป็นมิตรมากกว่าบอร์ดของ STM32 LORA DISCOVERY KIT ( B-L072Z-LRWAN1) บน Keil มากเลยครับ ซึ่งแน่นอนว่าเราสามารถหาตัวอย่าง Code ที่เราต้องการได้ง่ายมากผ่าน Google กันเลยทีเดียว
จบแล้วนะครับกับการติดตั้งใช้งานบอร์ด